วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นการนำเสนองาน

การนำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ครูในทุกสถานศึกษาควรต้องมี เพราะการนำเสนอเป็นศาสตร์และศิลป์สำหรับใช้ในการสอนหรือการถ่ายทอดเรื่องราวสู่ผู้เรียน หรือในการนำเสนอผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ ต่อกลุ่ม ต่อเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชา การนำเสนอที่ดีจึงต้องคำนึงถึงการเลือกรูปแบบ วิธีการและขั้นตอนของการนำเสนอให้เหมาะสม นอกจากนี้ตัวตนของผู้นำเสนอก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ ที่จะนำกระบวนการนำเสนอไปสู่ความสำเร็จ  ซึ่งต้องใช้เทคนิค วิธีการ ของการเป็นผู้พูด ผู้บรรยาย หรือผู้สรุปงานที่ดี เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้มน้าว ชักจูงให้เกิดความสนใจ  ความไว้วางใจ  ความเชื่อถือ  และการยอมรับได้มาก และสิ่อนำเสนอ นับเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการสร้างความเชื่อมั่น การตรึงพฤติกรรมของผู้ฟังให้คล้อยตามไปกับเรื่องราวของการนำเสนอ ดังนั้นการออกแบบสื่อนำเสนอที่ดี ก็จะเป็นส่วนเสริมให้การนำเสนอนั้นน่าสนใจมีคุณค่าสูงสุด สำหรับในบทเรียนนี้จะแนะนำเทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมMicrosoft PowerPoint ประกอบด้วยเนื้อหาในการเรียนรู้  3 บทเรียน

1. ขั้นตอนและกระบวนการนำเสนอ
2. เทคนิคการสร้าง สื่อ PowerPoint ให้น่าสนใจ
3. การเป็นผู้พูด(นำเสนอ) และการบรรยายสรุปที่ดี


 
ความหมายของคำว่า การนำเสนอ
 
การนำเสนอ คือ กระบวนการ วิธีการ เพื่อให้รู้ ให้ทราบ ให้เข้าใจ ในกิจกรรมขององค์กร ของสถาบัน ของหน่วยงาน ได้อย่างชัดเจน
 
การนำเสนอ คือ การถ่ายทอดเนื้อหา สาระที่ผสมผสานกันระหว่าง ศิลปะการพูด กับ การแสดงข้อมูล ในรูปแบบต่างๆ ผ่านสื่อและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม



ลักษณะหรือประเภทการนำเสนอ

เป็นที่ทราบกันดีว่ามนุษย์สามารถรับรู้สาระ เรื่องราวได้ดีที่สุดผ่านระบบประสาททางตา (75%) รองลงมาก็คือทางการได้ยินผ่านหู (13%) แต่คนเราจะจำได้เพียง 20ของสิ่งที่ได้เห็น และจำเพียง 30ของสิ่งที่ได้ยิน แต่ถ้าหากตั้งใจรับทั้งการได้ยินและประทับใจสิ่งที่ได้เห็น มนุษย์จะจำได้สูงถึง 70เลยทีเดียว ดังนั้น หากเราสามารถสร้างสรรกระบวนการนำเสนอที่ดี ผ่านการรับรู้ด้วยตาและหู (Audio & Visual) ก็ถือเป็นกระบวนการการถ่ายทอดหรือการสื่อสารผ่านพลังของการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อีกองค์ประกอบของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

ช่วงเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมานี้ สถานศึกษา นักการศึกษา ต่างระดมแนวคิดหาแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีพัฒนาการในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ได้มีการพัฒนา หาทางปรับปรุง เกี่ยวกับระบบ กระบวนการ รูปแบบการเรียนการสอน ด้วยการค้นหา พัฒนา วิธีการ แนวคิด ประยุกต์ด้วยการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ร่วมในการดำเนินการจัดการศึกษาปัจจุบันจะพบว่า สถานศึกษาต่างๆ ได้เพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงคิดค้นนวัตกรรม พัฒนาและแพร่กระจายเนื้อหาการเรียนการสอน และพัฒนาวิธีการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถนั้น สามารถเข้าถึงสังคมข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างดี ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี รัฐจึงได้เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา โดยกำหนดสาระหลักไว้ใน หมวด แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 แต่ทว่าการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในประเทศไทยนั้นยังกระทำไปได้ไม่เต็มที่ เท่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่เทคโนโลยีได้ก้าวไปไกลในหลากหลายด้าน  มีเพียงสถานศึกษาไม่กี่แห่งที่มีความพร้อมในการปรับ-เปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่  ซึ่งกลไกในการดำเนินการ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างจริงจังนั้น อยู่ภายใต้องค์ประกอบที่สำคัญ หลายประการ อาทิ
1. บุคลากรครู โดยส่งเสริมความรู้ การฝึกอบรมครู การพัฒนาบุคลากรในทุกระดับ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ซึ่งในความเป็นจริง บุคลากรครู นับเป็นปัจจัยหลัก ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีการศึกษาไปสู่กลไกการจัดการศึกษา แต่สภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบันพบว่า มีครูและบุคลากรทางการศึกษายังไม่ได้รับ(โอกาสหรือไม่คิดจะรับ) ในการพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านนโยบายระดับล่าง หรือผู้บริหาร ซึ่งนับเป็นอุปสรรคสำคัญ ในการก้าวสู่กระบวนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาอย่างจริงจัง
2. โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการสนับสนุนโครงข่าย อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น ต่อการเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ แม้ว่าปัจจุบันความเหลื่อมล้ำในช่องทางการเข้าถึงระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบทจะมีแนวโน้มที่ลดน้อยลงก็ตาม แต่หากมามองระหว่างสถานศึกษากลับพบว่า เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ที่เป็นช่องทางการเรียนรู้ในชั่วโมงการเรียนรู้ ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก สถานศึกษาบางแห่งให้ความสำคัญที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งเน้นในการจัดสร้าง จัดหา จนเกินความจำเป็น(บางโรงเรียนก็ไม่เพียงพอต่อการเรียน) แต่ด้านการพัฒนาองค์ความรู้  ขาดการผลักดัน หรือสนับสนุนในการสร้าง พัฒนาหลักสูตร สื่อ หรือเนื้อหาเพื่อการเรียนรู้ อย่างจริงจัง 
3. เครือข่าย คำว่าเครือข่ายในที่นี้ ไม่ใช่เครือข่ายทางอุปกรณ์ แต่เป็นเครือข่ายด้านสาระเนื้อหา หรือองค์ความรู้ การสร้างโครงข่ายหรือเครือข่ายการเรียนรู้ เน้นการใช้สื่อ สาระการเรียนรู้และข้อมูลร่วมกัน การก้าวไปสู่สังคมการเรียนรู้บนเครือข่ายปัจจัยสำคัญคือ ตัวข้อมูล สาระการเรียนรู้ แม้จะพบว่าจะอยู่ในสภาพมีการรวมตัวกันบ้าง ในกลุ่มสถานศึกษาบางกลุ่ม แต่ที่เห็นผล ก็มีไม่มากนัก การที่จะให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง จำเป็นต้องกำหนดเป็นนโยบาย หรือวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในหน่วยงานหรือสถานศึกษานั้นๆ ที่จะเป็นแรงผลักดันต่อสถานศึกษาด้วยกัน ในการสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ และการเชื่อมโยงเว็บไซต์สถานศึกษาแต่ละแห่งในแต่ละพื้นที่เข้าเป็นกลุ่มเครือข่ายด้วยกัน นำไปสู่ความเข้มแข็งของระบบ ความพร้อมของการบริหารจัดการ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความเข้มแข็งทางองค์ความรู้ ที่มีเครือข่ายร่วมมือดำเนินการพัฒนา ทำให้มีปริมาณในการพัฒนามากกว่าการดำเนินการเพียงสถานศึกษาเดียว นอกจากนี้ในการเป็นเครือข่ายทำให้สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ในทุกๆด้าน 
4. ข้อมูล องค์ความรู้ ส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาสื่อ ทั้งในแบบออฟไลน์ และออนไลน์ ผลักดันให้มีการพัฒนาฐานการเรียนรู้บนเว็บไซต์ ระดมสร้างข้อมูลการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา นำไปสู่การแลกเปลี่ยน แบ่งปันองค์ความรู้ ทั้งสาระ เนื้อหา หรือ สื่อ ผ่านกลไกบริหารจัดการเครือข่ายที่เข้มแข็ง  ทำให้การขับเคลื่อนเทคโนโลยีสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างเป็นรูปธรรมและมีการใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด  
5. กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถานศึกษาควรมี เว็บไซต์ ของสถานศึกษาเพื่อใช้เป็นเวทีกลางในการสร้างสรรค์ผลงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะครูร่วมกัน เป็นฐานหลักในการศึกษาหาความรู้ของผู้เรียนที่เป็นนักเรียน นักศึกษา เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง กระตุ้นให้ครูผู้สอนได้พัฒนาสาระการเรียนรู้ เช่น จัดประกวด การจัดทำสื่อในลักษณะต่างๆทั้งในแบบออฟไลน์ และออนไลน์ การให้แรงจูงใจ การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม รวมถึงการให้รางวัล หรือการชมเชยแด่ครูผู้มีผลงานในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดแรงกระตุ้น ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และเป็นแบบอย่างอันดีต่อครูหรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆได้นำไปเป็นแบบอย่างนำไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่เข้มแข็ง 


สักวันหนึ่ง ในระยะเวลาอีกไม่นานนัก หลักการของกระบวนการจัดการเรียนการสอน อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่ครูผู้สอนจะเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหา ประสบการณ์หลัก หรือ ความรู้เพียงหนึ่งเดียว ไปสู่ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ผนวกรวมกับการเป็น ผู้ชี้แนะผู้ประสานและกำหนดทิศทางของความรู้ที่ได้จากการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือเรียน ห้องสมุด ข้อมูลชุมชน สื่อสารมวลชน ฐานข้อมูลออนไลน์ไปจนถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นำประโยชน์ต่อการต่อยอดความคิด ก้าวไปสู่สังคมของการเรียนรู้ที่กว้างไกลอันเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

*ส่วนหนึ่งจาก http://www.northeducation.ac.th/etraining/courses/3/itedu/chap1/index04.phpหลักสูตร เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษาสำหรับครู โดย สุวัฒน์ ธรรมสุนทร


                                                                                          http://northnfe.blogspot.com

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา 

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี 
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน" 

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว 
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"



วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)








วัดท่าซุงนี่ตั้งมาก่อนสร้างกรุงศรีอยธยา 30 ปี พ.ศ.1863 ในยุคต้นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
หลวงพ่อใหญ่องค์แรก ที่เป็นผู้สร้างวัด ชื่อปานเหมือนกับหลวงพ่อปานวัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา รูปร่างหน้าตาใหญ่โต ท่านธุดงค์มาพบที่นี่เข้าแล้ว ก็เลยสร้าง วัดตรงนี้ ปลูกกุฏิหลังคามุงแฝกขึ้นมา 9 หลัง ในสมัยก่อนโน้นลำคลองนี้เป็นคลองเล็ก ลำคลองนี้มันโตสมัยที่มีเรือเมล์ เรือเขียว เรือแดงวิ่ง มีคลื่นตลิ่งมันก็พัง สมัยก่อนลำคลองเล็กใช้น้ำในคลองไไม่ได้ ต้องใช้น้ำในห้วยยเล็ก ๆ หลังวัดมีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรม ฝา ผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน เข้าใจว่าเขียนในสมัยหลัง
การสร้างวัด เป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2 - 3 แห่ง ด้านตรงข้ามกับวัด เป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ ภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวง พ่อปานและหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า มณฑป และ พระวิหารแก้ว ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และ ศพของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย 


 





 วัดจันทาราม ตั้งชื่อตามอดีตเจ้าอาวาสชื่อจันท์ (ในสมัยพระนารายณ์มหาราช นายทหารชื่อจันท์กลับจากศึกเชียงใหม่ มาตาม หาภรรยาไม่พบเลยมาบวชที่วัด ต่อมาเป็นสมภาร เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็นวันจันทารามตามชื่อท่านสมภาร) หรืออีกชื่อหนึ่งที่ บุคคลทั่วไปนิยม เรียกว่าวัดท่าซุง เพราะในอดีตจังหวัดอุทัยธานี มีป่าไม้มาก จึงมีการขนส่งท่อนซุงมาลงท่าน้ำซึ่งมีแม่น้ำสะแกกรัง ไหลผ่านบริเวณวัดท่าซุง เพื่อผูกเป็นแพล่องไปตามแม่น้ำ ในปี พ.ศ. 2332 หลวงพ่อใหญ่ (องค์ที่สอง) ท่านได้ธุดงค์มาปักกลดชาวบ้าน ท่าซุงมีความเลื่อมใสศรัทธา มาก ได้นิมนต์ท่านอยู่ประจำที่วัดท่าซุงนี้ ท่านก็รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนี้มีท่านเพียงองค์เดียว ในตอนแรก สร้างเสนนาสนะเจริญรุ่งเรือง ในสมัยของท่าน และหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน ท่านได้บอกอีกว่า หลวงพ่อใหญ่ท่านบรรลุพระอรหันต์ที่วัดนี้อีกด้วย กล่าวคือ เมื่อมีชีวิตอยู่ท่านเป็นอนาคามี ก่อนจะมรณภาพท่านก็เป็นพระอรหันต์ หลวงพ่อเส็ง (หลวงพ่อขนมจีน) ท่านเป็นผู้ช่วยหลวงพ่อใหญ่บูรณะวัดในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าอาวาสต่อจาก หลวงพ่อใหญ่ ท่านเป็นพระอรหันต์รูปที่ 2 ต่อจากหลวงพ่อใหญ่ วัดเจริญต่อมาจนถึงสมัยของหลวงพ่อเล่งและหลวงพ่อไล้ ท่านเป็นพี่น้องกัน ท่านเป็นพระทรงฌานทั้งสองรูป เมื่อจะมรณภาพทุกขเวทนามาก ท่านก็เห็นทุกข์ของการเกิด เป็นทุกข์เพราะร่างกาย เห็นคุณของคำสอนของ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านก็เป็นพระอรหันต์ก่อนมรณภาพทั้งสองรูป ต่อจากนั้นก็ถึงยุคภิกขุพานิช วัดไม่ได้บูรณะมา 47 ปี จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ. 2511 หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) ได้มาริเริ่มบูรณะวัดอีกครั้ง อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันคือสร้างด้วยโมเสกสีขาวใสดูเหมือนแก้ว และยังมีปราสาททองคำ ศาลาฝึกสมาธิ อาคารแต่ละหลังจะมีเวลาเปิด-ปิดไม่ตรงกันและปิดช่วงกลางวัน วิหารแก้วจะเปิดให้ชมตั้งแต่เวลา 9.00-11.45 น . และ 14.00-16.00 น. ลักษณะวัดท่าซุง เป็นวัดที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก อาทิเช่น ในวิหารแก้ว 100 เมตร จะตกแต่งประดับประดาด้วยแก้วใสวาววับ ภายใน วิหารมีโลงบรรจุองค์หลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วไป ถัดไปอีกด้านมีปราสาททองคำ ตกแต่งด้วยทองคำตระกาล ตา สร้างด้วยฝีมือที่ประณีตงดงาม








วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

NF10 สุดยอด กศน.แพร่

NF12 สุดยอด กศน.อุทัยธานี





NF8 สุดยอด กศน.อุตรดิตถ์


บุคลากร
































วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผ้าทอบ้านโคกหม้อ

ประวัติความเป็นมา
                     การทอผ้าเป็นหัตถกรรมอย่างหนึ่งที่ทำสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย
เป็นราชธานี สันนิษฐานจากประวัติศาสตร์ไทยได้กล่าวไว้จากหลักฐานการแต่งกายของพระมหากษัตริย์
เจ้านาย คหบดี ในสมัยนั้นและได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องราวการส่งส่วย มักกล่าวว่า ส่งผ้าทอเป็นมัด น้ำผึ้ง ไม้หอม และอื่น ๆ เป็นเครื่องราชบรรณการ
                      การทอผ้านับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เป็นช่างทอจะต้อมีความสามารถในการใช้สีของเส้นด้ายประกอบกันให้เกิดความสวยงามเหมาะสม และการแต่งแต้มสีทำให้เกิดลวดลาย การย้อม โดย
เฉพาะผ้าที่เรียกว่า ผ้ามัดหมี่ หากผู้ใดได้จับชมแล้วยากที่จะวางลงได้


                     
  การทอผ้านับเป็นสถาปัตยกรรมอีกด้วย เพราะช่างทอผ้าต้องออกแบบลายผ้าของตนเอง
ขึ้นมา โดยการนำลักษณะต่าง ๆ ของธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ดาว เดือน สัตว์ ของใช้ มาคิดประดิษฐ์
ประดอยเป็นลายผ้า จนมีชื่อเรียกตามลักษณะของสิ่งของเหล่านั้น  เช่น ดอกแก้ว บ่าง กระเบี้ย (ผีเสื้อ)
คันร่ม ขอคำเดือน ขิด สำรวจ (จรวด) หงส์ และมีการพัฒนาลายผ้าจากที่คิดให้มีความซับซ้อนสวยงาม
ยิ่งขึ้น เช่น ลายขอซ้อนน้อย (เล็ก) ซ้อมนใหญ่ ลายด่านน้อย ด่านกลาง ด่านใหญ่ หงส์น้อย ลายหงส์ใหญ่
                       การสืบทอด การถ่ายทอด ในสมัยโบราณผู้คนเรียนรู้หนังสือน้อยหรือแทบไม่ได้ศึกษา
เล่าเรียนเลยโดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งต้องมีหน้าที่ในงานบ้านเลี้ยงลูก ทำงานทอผ้า เพื่อใช้ในการนุ่งห่มของ
คนในครอบครัวหลังจากเวลาว่างจากการทำไร่ทำนา อาศัยเวลากลางคืนบ้าง เวลาหยุดพักเพื่อรอคอยการ
เก็บเกี่ยวผลผลิตบ้าง นับว่าเป็นงานหนักพอสมควรสำหรับหญิงไทย เพราะเมื่อเลิกงานประจำวันแล้วยังต้องมาประกอบอาหารดูแลลูก ๆ และสามีให้รับประทานอาหารจนอิ่มและเข้านอนแล้ว ตนเองก็ยังไม่ได้พักผ่อนยังต้องเก็บฝ้าย ดีดฝ้าย มัดหมี่ เพื่อเตรียมไว้เมื่อว่างเว้นจากการทำงานแล้วจึงทำการทอผ้า
                      การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสมัยนั้น ต้องอาศัยความจำจากการปฏิบัติจึงทำให้เกิดความชำนาญ ไม่มีการบันทึกเป็นภาพหรือลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก หรือ
เครือญาติใกล้ชิด จึงเปรียบเสมือนเป็นการสืบสายเลือดเลยก็ว่าได้
                      การทอผ้าแต่โบราณจะใช้ใยไหม และใยฝ้ายเป็นวัตถุดิบหลักในการทอผ้า เพราะไม่มี
เส้นใยสังเคราะห์อื่นใดที่จะมาแทนเส้นใยไหมและฝ้ายได้ดี บางกลุ่มบางสถานที่ได้นำวัสดุอื่นมาใช้
เช่น ป่าน ใบสับปะรด ใบเตยหอม ปอ มาทำเป็นวัสดุในการทอผ้า แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเพราะไม่เกิด

ความนิ่มทำให้ระคายเคืองร่างกาย สู้ใยไหมและฝ้ายไม่ได้






ประเพณีตักบาตรเทโว

ประเพณีตักบาตรเทโว

     "ตักบาตรเทโว"  มาจากคำเต็มว่า "ตักบาตรเทโวโรหณะ" คือ การตักบาตร แดพระุพุทธเจ้า เมื่อคราวเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

     เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เทศนาโปรดประชาชน ในแคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีปตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติ ทั้งหลายและพระพุทธบิดา แล้วทรงปรารถนาจะสนองคุณพระมารดา ซึ่งหลังจาก ประสูติพระองค์แล้วได้ 7 วัน ทรงสิ้นพระชนม์และได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ ชั้นดุสิต ในพรรษาที่ 7  หลังจากตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎก โปรดพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง (เหตุที่ทรงใช้ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นที่แสดงพระธรรมเทศนา ด้วยทรงพระประสงค์ จะโปรดเทวดา ชั้นต่ำด้วย หากพระองค์เสด็จไปชั้นดุสิต เทวดาชั้นดาวดึงส์ จะขึ้นไปชั้นดุสิตไม่ได้ เหมือนประชาชนจะเข้าวังได้ยาก แต่ราชสกุลออกมาฟังกับประชาชนได้) พอถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงมาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชนพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น การทำบุญตักบาตรในวันที่พระพุทธองค์ เสด็จลงจากเทวโลก จึงเรียกว่า "การตักบาตรเทโวโรหนะ" หรือ "ตักบาตรเทโวฯ" และพุทธศาสนิกชนได้ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีการทำบุญ ตักบาตรเทโว เป็นประเพณีที่ปฏิบัติคล้ายคลึงกันในทุกวัดทั่วประเทศ


จังหวัดอุทัยธานี
     ประเพณีตักบาตรเทโวที่วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี เป็นงานประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัด และจัดได้สอดคล้องกับตำนานมาก โดยสมมติ ให้มณฑปที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง เป็น "สิริมหามายากุฎาคาร" มีบันไดทอดยาวจากมณฑปลงสู่บริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง เปรียบเสมือนบันไดทิพย์ที่ทอดยาวจากสวรรค์ดาวดึงส์ สู่เมืองสังกัสนคร
 ประเพณีการตักบาตรเทโวของวัดสังกัสรัตนคีรี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี จะตีระฆังที่หน้ามณฑป บนยอดเขาสะแกกรัง เสียงระฆังจะดังกังวานไปไหลเป็น สัญญาณว่า เทศกาลงานตักบาตรเทโวเริ่มขึ้นแล้ว และพระสงฆ์ 9 รูป จะเจริญพระพุทธมนต์บนยอดเขา มีการแสดงปาฐกถาธรรม จุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง สวยงาม วันรุ่งขึ้น (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) ตอนสาย ๆ จะอัญเชิญพระพุทธรูปปางเปิดโลก ขึ้นเสลี่ยงคานหาม โดยมีผู้แต่งชุดนุ่งขาวห่มขาวสมมติเป็นเทวดาหามเสลี่ยง ลงมาจากยอดเขา ตามด้วยขบวนพระภิกษุสงฆ์ทุกรูป ที่จำพรรษาในเขตอำเภอเมือง อุ้มบาตรลงมาจากยอดเขา เดินลงมาตามบันได สู่บริเวณเชิงเขาด้านล่าง
    ส่วนชาวพุทะทางจังหวัดภาคใต้ของไทย นิยมจัดงานประเพณีชักพระหรือขบวนแห่พระพุทธรูปทั้งทางบก และทางน้ำแทนประเพณีตักบาตรเทโว
     ประเพณีการตักบาตรเทโว นับว่าเป็นประเพณี ที่สืบเนื่องพุทธศาสนาอันเป็นพิธีมงคลที่สมควรอนุรักษ์ไว้ เพราะประเพณีนี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนิกชนยังมีความเลื่อมใสศรัทธา  ในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีคุณค่าด้านอื่นอีก 
จากตำนานความเป็นมาของการตักบาตรเทโว ที่กล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงพระคุณ ของพระราชชนนี จึงเสด็จไปเทวโลก เพื่อแสดงธรรม ให้พระราชชนนีบรรลุโลกุตตรธรรม  แสดงให้เห็น ถึงความกตัญญูกตเวทีที่ลูกมีต่อแม่
     ประชาชนจำนวนมากจากต่างถิ่นที่อยู่กัน มากระทำพิธี ตักบาตรร่วมกัน แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในอันที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีความสมัครสมาน สามัคคีกันระหว่างบ้านกับวัด
     ในวันสำคัญเช่นนี้ พระสงฆ์ก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจ ตามหน้าที่ของสงฆ์ได้แผ่เมตตา โปรดสัตว์ ได้แสดง พระธรรมเทศนาสั่งสอนให้ประชาชนกระทำความดี การปฏิบัติต่าง ๆ  เหล่านี้ของพระสงฆ์นับได้ว่า เป็นการเผยแพร่ศาสนาโดยตรง
     การที่ประชาชนยังยึดมั่นในประเพณีและปฏิบัติศาสนกิจ ในวันสำคัญทางศาสนาเช่นนี้ นับว่าเป็นการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาโดยตรง
     ประเพณีการทำบุญตักบาตรเทโว จึงเป็นประเพณี ที่สมควรอนุรักษ์ไว้มิให้สูญหายไป เพราะประเพณีที่ดี บ่งบอกให้เห็นถึงความศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา จากความเป็นมาของประเพณีก็มีส่วนทำให้ผู้มาทำบุญ ตักบาตรเทโวในวันนี้ มีจิตใจระลึกถึงพระคุณของมารดา ผู้ให้กำเนิด  ดังนั้น เพื่อให้ประเพณีการทำบุญ ตักบาตรเทโว ยังคงอยู่กับพระพุทธศาสนาตลอดไป จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนทุกคน รวมทั้งทางวัด จะต้องร่วมมือร่วมใจกันโดยสืบทอดประเพณีและจัดให้มี ประเพณีการทำบุญตักบาตรเทโวทุกปีอย่างสม่ำเสมอ


การสร้าง Labels (ป้ายกำกับ) กำกับในบทความ


การติดตั้ง Gadget กลุ่ม(หมวด) เนื้อหาให้ Blogger




Blogger ยังเพิ่มเติมคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นส่วนติดตั้งพิเศษที่เรียกว่า Gadget เพิ่มเติมต่างๆได้โดยง่าย มากถึง 24 รายการ มีรายการ ดังภาพด้านล่างนี้


หนึ่งใน Gadget ที่น่าใช้ของ Blogger ก็คือ กลุ่มเนื้อหา หรือหมวดหมู่ หรือ Categories หากเราเป็นผู้นิยมชมชอบในการสร้างเนื้อหาแล้ว การสร้างหมวดหมู่ นับได้ว่ามีประโยชน์กับนักเขียนเรื่องราวบนบล็อก ที่มีอยู่หลากหลายเรื่อง ซึ่งเมื่อนานวันก็มีเรื่องเพิ่มมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือสาระเนื้อหา จะกระจัดกระจายไม่เป็นหมวดหมู่ ซึ่ง Blogger มีเครื่องมือสำหรับสร้างหมวดหมู่ หรือ Categories ไว้ให้ ซึ่งการสร้างหมวดหมู่ มีอยู่ 2 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นติดตั้ง Gadget
ก่อนอื่นต้องนึกไว้ล่วงหน้าก่อนว่า จะให้ หมวดหมู่ หรือ Categories นี้อยู่ที่ตำแหน่งไหน ในที่นี้สมมุติว่า จะให้อยู่ใต้ รายการบทความ ดังตัวอย่าง


ความคิดเห็นจาก facebook

 

Blogger news

Blogroll

About