วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)








วัดท่าซุงนี่ตั้งมาก่อนสร้างกรุงศรีอยธยา 30 ปี พ.ศ.1863 ในยุคต้นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
หลวงพ่อใหญ่องค์แรก ที่เป็นผู้สร้างวัด ชื่อปานเหมือนกับหลวงพ่อปานวัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา รูปร่างหน้าตาใหญ่โต ท่านธุดงค์มาพบที่นี่เข้าแล้ว ก็เลยสร้าง วัดตรงนี้ ปลูกกุฏิหลังคามุงแฝกขึ้นมา 9 หลัง ในสมัยก่อนโน้นลำคลองนี้เป็นคลองเล็ก ลำคลองนี้มันโตสมัยที่มีเรือเมล์ เรือเขียว เรือแดงวิ่ง มีคลื่นตลิ่งมันก็พัง สมัยก่อนลำคลองเล็กใช้น้ำในคลองไไม่ได้ ต้องใช้น้ำในห้วยยเล็ก ๆ หลังวัดมีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรม ฝา ผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน เข้าใจว่าเขียนในสมัยหลัง
การสร้างวัด เป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2 - 3 แห่ง ด้านตรงข้ามกับวัด เป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ ภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวง พ่อปานและหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า มณฑป และ พระวิหารแก้ว ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และ ศพของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย 


 





 วัดจันทาราม ตั้งชื่อตามอดีตเจ้าอาวาสชื่อจันท์ (ในสมัยพระนารายณ์มหาราช นายทหารชื่อจันท์กลับจากศึกเชียงใหม่ มาตาม หาภรรยาไม่พบเลยมาบวชที่วัด ต่อมาเป็นสมภาร เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็นวันจันทารามตามชื่อท่านสมภาร) หรืออีกชื่อหนึ่งที่ บุคคลทั่วไปนิยม เรียกว่าวัดท่าซุง เพราะในอดีตจังหวัดอุทัยธานี มีป่าไม้มาก จึงมีการขนส่งท่อนซุงมาลงท่าน้ำซึ่งมีแม่น้ำสะแกกรัง ไหลผ่านบริเวณวัดท่าซุง เพื่อผูกเป็นแพล่องไปตามแม่น้ำ ในปี พ.ศ. 2332 หลวงพ่อใหญ่ (องค์ที่สอง) ท่านได้ธุดงค์มาปักกลดชาวบ้าน ท่าซุงมีความเลื่อมใสศรัทธา มาก ได้นิมนต์ท่านอยู่ประจำที่วัดท่าซุงนี้ ท่านก็รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนี้มีท่านเพียงองค์เดียว ในตอนแรก สร้างเสนนาสนะเจริญรุ่งเรือง ในสมัยของท่าน และหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน ท่านได้บอกอีกว่า หลวงพ่อใหญ่ท่านบรรลุพระอรหันต์ที่วัดนี้อีกด้วย กล่าวคือ เมื่อมีชีวิตอยู่ท่านเป็นอนาคามี ก่อนจะมรณภาพท่านก็เป็นพระอรหันต์ หลวงพ่อเส็ง (หลวงพ่อขนมจีน) ท่านเป็นผู้ช่วยหลวงพ่อใหญ่บูรณะวัดในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าอาวาสต่อจาก หลวงพ่อใหญ่ ท่านเป็นพระอรหันต์รูปที่ 2 ต่อจากหลวงพ่อใหญ่ วัดเจริญต่อมาจนถึงสมัยของหลวงพ่อเล่งและหลวงพ่อไล้ ท่านเป็นพี่น้องกัน ท่านเป็นพระทรงฌานทั้งสองรูป เมื่อจะมรณภาพทุกขเวทนามาก ท่านก็เห็นทุกข์ของการเกิด เป็นทุกข์เพราะร่างกาย เห็นคุณของคำสอนของ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านก็เป็นพระอรหันต์ก่อนมรณภาพทั้งสองรูป ต่อจากนั้นก็ถึงยุคภิกขุพานิช วัดไม่ได้บูรณะมา 47 ปี จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ. 2511 หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) ได้มาริเริ่มบูรณะวัดอีกครั้ง อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันคือสร้างด้วยโมเสกสีขาวใสดูเหมือนแก้ว และยังมีปราสาททองคำ ศาลาฝึกสมาธิ อาคารแต่ละหลังจะมีเวลาเปิด-ปิดไม่ตรงกันและปิดช่วงกลางวัน วิหารแก้วจะเปิดให้ชมตั้งแต่เวลา 9.00-11.45 น . และ 14.00-16.00 น. ลักษณะวัดท่าซุง เป็นวัดที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก อาทิเช่น ในวิหารแก้ว 100 เมตร จะตกแต่งประดับประดาด้วยแก้วใสวาววับ ภายใน วิหารมีโลงบรรจุองค์หลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วไป ถัดไปอีกด้านมีปราสาททองคำ ตกแต่งด้วยทองคำตระกาล ตา สร้างด้วยฝีมือที่ประณีตงดงาม








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นจาก facebook

 

Blogger news

Blogroll

About