ประวัติความเป็นมา
การทอผ้าเป็นหัตถกรรมอย่างหนึ่งที่ทำสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย
เป็นราชธานี
สันนิษฐานจากประวัติศาสตร์ไทยได้กล่าวไว้จากหลักฐานการแต่งกายของพระมหากษัตริย์
เจ้านาย คหบดี
ในสมัยนั้นและได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องราวการส่งส่วย มักกล่าวว่า “ส่งผ้าทอเป็นมัด น้ำผึ้ง ไม้หอม” และอื่น ๆ
เป็นเครื่องราชบรรณการ
การทอผ้านับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เป็นช่างทอจะต้อมีความสามารถในการใช้สีของเส้นด้ายประกอบกันให้เกิดความสวยงามเหมาะสม
และการแต่งแต้มสีทำให้เกิดลวดลาย การย้อม โดย
เฉพาะผ้าที่เรียกว่า “ผ้ามัดหมี่” หากผู้ใดได้จับชมแล้วยากที่จะวางลงได้
การทอผ้านับเป็นสถาปัตยกรรมอีกด้วย
เพราะช่างทอผ้าต้องออกแบบลายผ้าของตนเอง
ขึ้นมา โดยการนำลักษณะต่าง ๆ ของธรรมชาติ เช่น
ดอกไม้ ดาว เดือน สัตว์ ของใช้ มาคิดประดิษฐ์
ประดอยเป็นลายผ้า
จนมีชื่อเรียกตามลักษณะของสิ่งของเหล่านั้น
เช่น ดอกแก้ว บ่าง กระเบี้ย (ผีเสื้อ)
คันร่ม ขอคำเดือน ขิด สำรวจ (จรวด) หงส์
และมีการพัฒนาลายผ้าจากที่คิดให้มีความซับซ้อนสวยงาม
ยิ่งขึ้น เช่น ลายขอซ้อนน้อย (เล็ก) ซ้อมนใหญ่
ลายด่านน้อย ด่านกลาง ด่านใหญ่ หงส์น้อย ลายหงส์ใหญ่
การสืบทอด การถ่ายทอด ในสมัยโบราณผู้คนเรียนรู้หนังสือน้อยหรือแทบไม่ได้ศึกษา
เล่าเรียนเลยโดยเฉพาะผู้หญิง
ซึ่งต้องมีหน้าที่ในงานบ้านเลี้ยงลูก ทำงานทอผ้า เพื่อใช้ในการนุ่งห่มของ
คนในครอบครัวหลังจากเวลาว่างจากการทำไร่ทำนา
อาศัยเวลากลางคืนบ้าง เวลาหยุดพักเพื่อรอคอยการ
เก็บเกี่ยวผลผลิตบ้าง
นับว่าเป็นงานหนักพอสมควรสำหรับหญิงไทย
เพราะเมื่อเลิกงานประจำวันแล้วยังต้องมาประกอบอาหารดูแลลูก ๆ
และสามีให้รับประทานอาหารจนอิ่มและเข้านอนแล้ว
ตนเองก็ยังไม่ได้พักผ่อนยังต้องเก็บฝ้าย ดีดฝ้าย มัดหมี่
เพื่อเตรียมไว้เมื่อว่างเว้นจากการทำงานแล้วจึงทำการทอผ้า
การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ
ในสมัยนั้น ต้องอาศัยความจำจากการปฏิบัติจึงทำให้เกิดความชำนาญ
ไม่มีการบันทึกเป็นภาพหรือลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก หรือ
เครือญาติใกล้ชิด
จึงเปรียบเสมือนเป็นการสืบสายเลือดเลยก็ว่าได้
การทอผ้าแต่โบราณจะใช้ใยไหม
และใยฝ้ายเป็นวัตถุดิบหลักในการทอผ้า เพราะไม่มี
เส้นใยสังเคราะห์อื่นใดที่จะมาแทนเส้นใยไหมและฝ้ายได้ดี
บางกลุ่มบางสถานที่ได้นำวัสดุอื่นมาใช้
เช่น ป่าน ใบสับปะรด ใบเตยหอม ปอ
มาทำเป็นวัสดุในการทอผ้า แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเพราะไม่เกิด
ความนิ่มทำให้ระคายเคืองร่างกาย
สู้ใยไหมและฝ้ายไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น